หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
   
หน่วยที่ 7 เศรษฐศาสตร์มหภาค
  7.1 เศรษฐศาสตร์มหภาค Macroeconomics
   
        เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของส่วนรวม โดยการนำเศรษฐกิจย่อยๆ มารวมกัน เช่น การศึกษารายได้ประชาชาติ การผลิต การบริโภค การลงทุน การออม การค้าระหว่างประะเทศ อัตราการจ้างงานของประเทศที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายการเงินและการคลังที่มีผลต่อรายได้ประชาชาติ
   
  วิวัฒนาการของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค
   
 

          สํานักคลาสสิค Classical economics มีความเชื่อในระบบ เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม คือ ให้ทุกคนทําในสิ่งที่ดี ที่สุดแล้วในที่สุดระบบเศรษฐกิจจะดีเอง หรือ กลไกตลาด สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจทุกอย่างได้ด้วยตัวของมันเอง รัฐบาลไม่ควรเข้าไปแทรกแซง โดยบิดาเศรษฐศาสตร์ คือ อดัม สมิท (Adam Smith)

 
     
            สํานักเคนส์ ได้มีอิทธิพลต่อการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรมตะวันตกช่วงปี 1930 ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ และปัญหาการว่างงาน     โดยรัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซงระบบ เศรษฐกิจ ผ่านการใช้นโยบายการเงินและการคลัง   เนื่องจากทฤษฎี เศรษฐศาสตร์ก่อนสํานักเคนส์ไม่สามารถอธิบายได้  และ  เคนส์ได้แบ่ง เศรษฐศาสตร์เป็น เศรษฐศาสตร์จุลภาค และ เศรษฐศาสตร์มหภาค
 
     
  วิวัฒนาการของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค  
     
            สํานักนีโอคลาสสิค Neo - classical economics ได้วิจารณ์ แนวนโยบายของสํานักเคนส์ ในช่วงปี 1960 และ 1970 ที่มีปัญหาเงิน เฟ้อ และ การว่างงานพร้อมกัน โดยนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้ เน้น ความมีอยู่อย่างจํากัดของทรัพยากร และ มีความเชื่อในระบบเศรษฐกิจ
 
     
  ความสําคัญ ประโยชน์ และจุดประสงค์ของ การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาค
 
     
            ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น รัฐบาล ไม่สามารถปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจเป็นไปโดยเสรีได้ โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ และ การว่างงาน ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบ การจะแก้ไขได้  ก็ต้องทำกันเป็นระบบ ไม่ใช่เน้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง จึงเป็นเหตุผล ที่ทำให้มีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค
 
     
  กระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ  
               กระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ คือ แผนภาพ แสดงถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างหน่วย เศรษฐกิจต่างๆ และ หรือ ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ว่ามีการ ดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดกระแสการผลิต รายได้ และ การใช้จ่ายอย่างไร 
 
               หน่วยเศรษฐกิจ คือ บุคคลหรือสถาบัน หนึ่งที่ดําเนิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ   
               กิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะเป็นกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ ที่เกี่ยวกับ การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน การจําหน่ายจ่าย แจก  
     
                   การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค  เป็นการศึกษาอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวมผลผลิต  ระดับราคาสินค้า  ฟังก์ชั่นการบริโภค  การออมและการลงทุน  โดยได้อาศัยหลักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สำนักต่าง ๆ อาทิเช่น  สำนักคลาสสิค  สำนักนีโอคลาสสิค  สำนักเคนส์ สำนักการเงินนิยม โครงสร้างนิยมและเคนส์ใหม่  New  Keyneian
ตามความคิดของสำนักคลาสสิค  ที่เชื่อมั่นว่ากลไกตลาดสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง  ๆ  ได้อย่างรวดเร็ว 

 
   
                   ระบบเศรษฐกิจจึงมีดุลยภาพและมีการจ้างงานเต็มที่เสมอ  ทั้งนี้โดยมีสมมุติฐานว่า อัตราค่าจ้างและราคาสินค้าไม่คงที่  อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้  ดังนั้น  ถ้าหากระบบเศรษฐกิจมีการว่างงานที่เกิดจาก อุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand: AD) น้อยกว่า อุปทานมวลรวม (Aggregate Supply: AS) AD<AS  ราคาค่าจ้างจะปรับตัวลดลง  และ กลับสู่ภาวะการจ้างงานเต็มที่
   
  แนวคิดของสำนักงานเคนส์    ที่เชื่อว่าระบบเศรษฐกิจไม่สามารถปรับตัวได้โดยกลไกราคา  รัฐจำเป็นจะต้องเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจ  เช่น  เคนส์เสนอวิธีการแก้ปัญหาเงินเฟ้อและการว่างงาน ด้วยนโยบายการเงิน (Monetary policy)
แต่แนวคิดของสำนักคลาสสิค  มีอิทธิพลเรื่อยมากระทั่งเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ใน ค.ส. 1930  ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค  ไม่สามารถอธิบายสาเหตุและให้คำตอบในการแก้ปัญหานี้ได้ 
   
                  John  Maynard keynes  ได้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหา  โดยได้พิมพ์หนังสือชื่อ The general Theory of Employment, lnterest and Money ค.ศ. 1936 
                 John  Maynard keynes 
ได้เสนอทฤษฎีใหม่ซึ่งสามารถอธิบายสาเหตุต่าง ๆ ของปัญหาและเสนอคำตอบในการแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในเวลานั้นอย่างได้ผล  เป็นเหตุให้นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกพากันให้ความสนใจศึกษาและขยายแนวคิดของเคนส์  จนกลายเป็นเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ ในเวลาต่อมา  และได้ชื่อว่าเป็นบิดาทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค ซึ่งเป็นการศึกษาภาพรวมทั้งระบบเศรษฐกิจ
   
                  กล่าวโดยสรุป  ความนิยมที่มีต่อสำนักต่าง ๆ จะขึ้นลงสลับกันไป  โดยแต่ละสำนักจะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ปัญหาใหญ่คือ นักเศรษฐศาสตร์ยังไม่สามารถผสมผสานแนวคิดต่าง ๆ เข้าเป็นสำนักเดียวกันได้  จึงทำให้ต้องศึกษาแยกออกจากกันแต่ละสำนัก
   
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th